วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 7

  
                        



    สำหรับวันนี้อาจารย์ได้บรรยายเรื่องการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่แตกต่างจากการจัดประสบการณ์โดยทั่ว ๆไป คือ การเปิดโอกาสให้เด็กสร้างทางเลือก และใช้การตัดสินใจ การให้เด็กได้เรียนรู้ความผิดพลาดของตนเอง  ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์เพื่อช่วยในการคิดและตัดสินใจในครั้งต่อไป  การให้เด็กคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดขึ้น  ความลึกซึ้งในเรื่องที่ศึกษาขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็กที่จะค้นคว้าหาความรู้ของตนเองและครูจะให้คำแนะนำตามความสนใจที่เด็กอยากเรียนรู้ 

   หลังจากที่อาจารย์ได้บรรยายการสอนเสร็จ ก็เป็นการนำเสนอการรายงาน บทความ วิจัย และการสอน ของนักศึกษามานำเสนอหน้าห้อง 
1.บทความที่เพื่อนนำเสนอชื่อ เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล(มิส จอมขวัญ เหล่าคุณธรรม)
2.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3.คณิตคิดสนุก จากยูทูป

    การสอนควรดูหลักสูตรเป็นหลัก
1.ตัวเด็ก 
2.บุคคลและสถานที่
3.ธรรมชาติ
4.สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก


ความรู้ที่ได้รับ : ได้รู้ว่า Project Approach คือ การจัดประสบการณ์แบบโครงการในเรื่องที่เด็กสนใจ และได้รู้ว่า การสอนควรคำนึกถึงหลักสูตรและพัฒนาการของเด็ก

ประเมินตนเอง :  วันนี้ดิฉันตั้งใจฟังเรียนคะ ฟังเพื่อนนำเสนอและฟังอาจารย์บรรยายอย่างตั้งใจคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีคะ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนสนุกคะทำให้การเรียนมีเสียงหัวเราะสนุกสนานกับการเรียนและไม่รู้สึกเครียดเลย รวมถึงการบรรยายที่เว้นให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดมากขึ้นคะ

วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วันที่14 กุมภาพันธ์ 2561

วันที่14 กุมภาพันธ์ 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 6




    การเรียนวันนี้เรียนเรื่อง การสอนแบบรูปธรรมไปสู่นามธรรม และ การจัดประสบการณ์ให้เด็กควรจัดให้ตรงตามพัฒนาการควรคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ 
  
  พัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจต์
1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)
2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)
    
     บรุนเนอร์ พัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้น คือ
1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) 
คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆการลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) 
เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) 
เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

    ขอบข่ายหลักสูตรคณิศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1. การนับ (Counting) 
2. ตัวเลข (Number)
3. การจับคุ่ (Mateting) 
4. การจัดประเภท (Classification)
5. การเปรียบเทียบ (Compaarning) 

6. การจัดลำดับ (Ordering)
7. รูปทรงเเละพื้นที่ (Shape and Space)
8. การวัด (Measurement)
9. เซค (Set)
10. เศษส่วน (Fraction)
11. การทำตามเเบบหรือตามลวดลาย (Patterning)
12. การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)

    หลักการพัมนาความสามรถทางคณิคศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
1.เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริงเริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม คือ
 1.1 ขั้นใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น
 1.2 ขั้นใช้ภาพแทนของจริง เช่น ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
 1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ เช่น สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด
 1.4 ขั้นนามธรรม เช่น เครื่องหมายบวก ลบ
2. เริ่มจากสิ่งง่ายๆ ใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายาก
3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้จำ
4. ให้คิดจากปัญหาในชีวิจประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย เช่น
 -เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข
 -เล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ
 -การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของ
 -แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน
 -ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน
 -ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ
 -ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ
 -เล่นทายปัญหาและตอบปัญหาเชาว์
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย
7.จัดกิจกรรมทบทวน โยตั้งคำถามให้ตอบปากป่าวหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง

ความรู้ที่ได้รับ : ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเสริมประสบการณ์ให้เด็กต้องคำนึงถึงพัฒนาการเด็กเป็นสำคัญ

ประเมินตนเอง : สำหรับวันนี้ดิฉันมาห้องเรียนกลุ่มแรก และช่วยอาจารย์เก็บเรียงอุปกรณ์ให้พี่ๆเพื่อไปแข่งเล่านิทานที่บุรีรัมย์ด้วยคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีคะ

ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนแบบวดเร็วคะ เนื่องจากอาจารย์ต้องพาพี่ๆไปแข่งเล่านิทาน แต่อาจารย์ก็สอนเข้าใจและสนุกมากคะ การเรียนวันนี้ครึกครื้นและสนุกคะ




วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2561

วันที่ 09 กุมภาพันธ์  2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 5










    วันนี้เป็นการนำเสนองานที่อาจารย์ได้สั่งไว้เป็นครั้งแรก ก่อนที่จะมีการนำเสนออาจารย์ได้แนะนำวิธีการในการนำเสนองานให้เป็นตัวอย่าง เรื่องการยืนนำเสนองาน การกล่าวสวัสดีก่อนนำเสนองาน 
เรื่องที่เพื่อนนำเสนอวันนี้ คือ
บทความ การจัดคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
วิจัย การพฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
หลังจากที่การรายงานจบอาจารย์ำด้ให้คำแนะนำเรื่องการนำเสนองาน ควรมีเครื่องมือในการใช้นำเสนอ อย่างเช่น สื่อที่ทำให้คนดูเข้าใจและเห็นภาพได้ชัด 
  การเรียนวันนี้อาจารย์สอนวิธีการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในเรื่องจำนวน และการบวก การหาคำตอบ มากกว่า น้อยกว่า การหาคำตอบมีหลากหลายวิธีแต่สำหรับเด็กปฐมวัยควรหาแบบหนึ่งต่อหนึ่ง จำนวนที่เหลือคือคำตอบ การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรสอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก
  หลังจากนั้นได้ทำกิจกรรมตอบคำถาม
-คณิตศาสตร์อยู่ทุกหนแห่ง 
-นักศึกษาใช้คณิตศาสตร์เมื่อใดบ้าง
และกิจกรรมปรบมือสัญญาลักษณ์

ความรู้ที่ได้รับ : วิธีการสอนคณิตศาสตร์วิธีหาคำตอบสำหรับเด็กปฐมวัยและรู้ว่าสิ่งรอบตัวเด็กสามารถนำมาสอนในวิชาคณิตศาสตร์ได้ทุกอย่าง อย่างเช่น จำนวนเพื่อนในห้อง จำนวนชายหญิง หรือแม้แต่นอกโรงเรียน จำนวนผักผลไม้ หรือ เปรียบเทียบราคาสินค้าในตลาด และ รูปทรงต่างๆ

ประเมินตนเอง : วันนี้ดิฉันตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือในการออกไปทำกิจกรรมหน้าห้องคะ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกคะไม่น่าเบื่อและไม่ง่วงคะ อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ