วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วันที่ 2 พฤษภาคม 2561



  วันที่ 2 พฤษภาคม 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 14

      สำหรับวันนี้เป็นการเรียนชดเชย วันนี้เป็นการนำเสนอเกมการศึกษาจากถาดไข่ของเพื่อนๆแต่ละคู่โดยการเปิดคลิปวีดีโอนำเสนอหน้าห้องเรียนเพื่อให้อาจารย์และเพื่อนๆ รับรู้วิธีการประเมินเด็กและการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองสามารถส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้ที่บ้าน 

   วิธีการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
  การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ โดยวิธีการที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่

1. เก็บรวบรวมข้อมูล ครูควรวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลควบคู่กับการจัดประสบการณ์ โดยเป็นการวางแผนล่วงหน้า ทั้งนี้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
    1.1 การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็ก ครูควรใช้เวลาในการสังเกตและเฝ้าดูเด็ก เพื่อให้ทราบว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่น ความต้องการ ความสนใจ และต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใด ทั้งนี้ ครูต้องกำหนดเวลา แนวทางที่ชัดเจน และจดบันทึกไว้เพื่อนำมาใช้ในวิเคราะห์และสรุป ทั้งนี้ การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็กอาจทำได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    1.3 การเก็บตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็ก เป็นวิธีการที่ครูรวบรวมและจัดระบบตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็กจากชิ้นงานที่เด็กสร้างขึ้นในกิจวัตรประจำวัน ครูควรกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเก็บรวบรวมผลงาน เช่น เก็บตัวอย่างผลงานการตัดกระดาษที่แสดงการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านการตัดกระดาษของเด็กเดือนละ 1 ชิ้นงาน แล้วนำมาจัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น การเก็บสะสมผลงานอย่างต่อเนื่องนี้ ครูต้องประเมินว่าผลงานแต่ละชิ้นแสดงความก้าวหน้าของเด็กอย่างไร ไม่ใช่การนำมาเก็บรวมกันไว้เฉยๆ ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการเลือกและจัดเก็บผลงาน และครูสามารถนำผลงานที่จัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบมาใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครองให้รับทราบเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเด็กด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่ดีต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช่วิธีใดวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ หรือครูผู้ช่วยมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลด้วย เพราะวิธีการแต่ละวิธีจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยวิธีการที่นำเสนอข้างต้นเป็นวิธีที่ครูต้องฝึกฝนจนมีทักษะในการสังเกตเด็ก พูดคุยกับเด็กและพ่อแม่อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีความไวต่อสิ่งที่ควรบันทึกหรือเก็บตัวอย่าง หากครูมีทักษะเหล่านี้ก็จะทำให้การประเมินตรงตามสภาพจริงยิ่งขึ้น
    2.1 บันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล การทำบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคลจะช่วยให้ครูรู้จักความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ทำให้ครูติดตามความก้าวหน้าของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยให้ครูประเมินเด็กอย่างครอบคลุมทุกรายการประเมิน ครูที่ทำบันทึกข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลจะสามารถช่วยส่งเสริมความสามารถของเด็ก หรือให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม 
    2.2 บันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน การทำบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียนช่วยให้ครูรู้ว่าเด็กในห้องเรียนที่รับผิดชอบมีความสามารถหรือมีพัฒนาการในแต่ละด้านเป็นอย่างไร ส่งผลให้ครูสามารถออกแบบการจัดประสบการณ์ได้เหมาะสมกับเด็กในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความก้าวหน้าของเด็กทั้งชั้นเรียน การสรุปเช่นนี้ควรทำเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม


  1.2 การสนทนากับเด็ก ครูสามารถใช้การสนทนากับเด็กได้ทั้งแบบรายบุคคลและเป็นกลุ่มอย่างสอดคล้องกับกิจวัตรประจำวัน เพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็น พัฒนาการด้านการใช้ภาษา ฯลฯ เช่น เมื่อครูเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ว ครูอาจถามคำถามให้เด็กแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟัง เพื่อให้รู้ความคิดของเด็ก ทั้งนี้ ครูควรจดบันทึกคำพูดของเด็กไว้เพื่อการวิเคราะห์และปรับการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมต่อไป ในกรณีที่ต้องการสนทนากับเด็กเป็นรายบุคคล ครูควรพูดคุยในสภาวะที่เหมาะสม ไม่ทำให้เด็กเครียดหรือเกิดความวิตกกังวล

2. วิเคราะห์และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ครูควรนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาวิเคราะห์ และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ทั้งในลักษณะของบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล และบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน

        ทั้งนี้ การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ดีต้องผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับการจัดประสบการณ์ การประเมินช่วยให้ครูทราบพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะสามารถส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเต็มที่ ครูปฐมวัยจึงควรศึกษาวิธีการ เครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินที่เหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย วางแผนการประเมินให้เหมาะสม ใช้ผลการประเมินในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก การประเมินจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ช่วยทำให้ครูสามารถจัดประสบการณ์อย่างมีคุณภาพ
  สุดท้ายเป็นการนำเสนอบทความการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์และวิจัยการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย  ดังนี้
- บทความ เรื่อง  เทคนิคสอนลูกเก่งเลข ง่ายนิดเดียว- บทความ เรื่อง  เม่ื่อลูกน้อยเรียนรู้ คณิต-วิทย์ จากเสียงดนตรี- การวิจัย  เรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษาเศษส่วน- การวิจัย  เรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์- การวิจัย  เรื่อง การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

วันที่ 25 เมษายน 2561



วันที่ 25 เมษายน 2561



การเรียนการสอนครั้งที่ 13


 
  

   

       



     


         


      




      การเรียนวันนี้เป็นการนำเสนอสื่อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ (ถาดรองไข่) ของกลุ่มการเรียน122 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ ได้มีการจัดนำเสนอสื่อขึ้น สื่อทุกชิ้นได้ให้เด็กปฐมวัยลองเล่นดูแล้ว วึ่งเห็นได้ว่า สื่อคณิตศาสตร์ที่ทำขึ้นให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กนั้น เด็กสามรถเรียนรู้สื่อนี้ได้ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5


    สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
สื่อการสอนคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสื่อที่เป็นนามธรรม นอกจากนี้เด็กปฐมวัยมีช่วงความสนใจสั้น จึงมีความคิดว่าควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติการและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย เพราะสื่อจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยหลายประเภท ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้


    ความสำคัญของสื่อ
1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ “เรียน”

4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน


ความรู้ที่ได้รับ : ได้เรียนรู้การทำสื่อจากของเหลือใช้คะ และได้รู้ประโยชน์ของสื่อเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อีกด้วยคะ

ประเมินตนเอง : ดิฉันตั้งใจทำสื่อชิ้นนี้คะ นำไปปรับแก้หลายครั้งตามคำแนะนำของอาจารย์จนสุดท้ายก็ออกมาดีคะ และไม่ต้องนำไปปรับแก้อีก ดีใจมากคะ

ประเมินเพื่อน : ผลงานของเพื่อนก็ออกมาโอเคดีคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แนะนำนักศึกษาและใส่ใจงานนักศึกษาทุกชิ้นเลยคะ ให้คำแนะนำนักศึกษาในการทำงานเป็นอย่างดีคะ




     

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561

วันที่ 20 เมษายน 2561


วันที่ 20 เมษายน 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 12







       การเรียนวันนี้อาจารย์นัดตรวจงานที่ได้ทำกันไปและรายงานวิจัย บทความ การสอน  สำหรับการตรวจงานก่อนส่งในครั้งนี้ทุกคนก็ได้คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์และได้ปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นเพื่อให้ออกมาสมบูรณ์ที่สุด ก่อนส่งต้องนำไปให้เด็กได้ทดลองเล่นดูก่อน และอัดวีดีโอพร้อมจดบันทึกมาส่งในอาทิตย์หน้า หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาสอบแบบตอบคำถาม 4 ข้อ เกี่ยวกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามความเข้าใจของนักศึกษาค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ : ได้ความรู้จากสื่อที่เพื่อนต่างนำมาเสนอหน้าชั้นค่ะทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆจากเพิ่มเติมคะ

ประเมินตนเอง : ดิฉันตั้งใจเรียนคะ และมาเรียนตรงเวลาเสมอ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีค่ะ สื่อที่ทำมาสวยแต่อาจมีต้องแก้ไขบ้างเล็กน้อย แต่รวมๆถือว่าดีคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำสื่อและการวิจัยแบบเข้าใจง่ายและสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงคะ

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561

วันที่ 04 เมษายน 2561


 วันที่ 04 เมษายน 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 11




    สำหรับการเรียนอาจารย์ได้นัดดูความคืบหน้าของสื่อที่ให้ทำจากแผงไข่เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เพื่อนำไปปรับแก้ไข การรายงานความคืบหน้านั้นคือการออกไปรายงานหน้าห้องให้อาจารย์ดูว่าควรแก้ไขหรืเพิ่มเติมตรงไหนบ้าง ทุกคนนำสื่อที่ตนเองทำมารายงานความคืบหน้า บ้างก็คืบหน้าไปเกินครึ่ง บ้างก็สำเร็จเรียบร้อยแต่อาจต้องเพิ่มเติมนิดหน่อย อาจารย์จะถามเสมอว่า ควรเพิ่มเติมตรงไหนและ คิดว่าขาดอะไร  ทำตรงตามแบบแผนที่เขียนมาหรือไม่

ความรู้ที่ได้รับ : ได้ผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์จากแผงไข่ ได้รู้ว่าคณิตศาสตร์อยู่ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าสิ่งของนั้นจะไม่มีราคาแต่สามรถนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนค
ณิตศาสตร์ได้

ประเมินตนเอง : วันนี้ดิฉันทำสื่อเสร็จไปเกินครึ่ง แต่มีอาจารย์ให้ไปเพิ่มเติมนิดหน่อยคะ ดิฉันตั้งใจทำสื่อชิ้นนี้คะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทำสื่อได้สวยงามคะ และเสร็จเกินครึ่งคะ

ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการทำสื่อกับนักศึกษาที่ออกไปรายงานความคืบหน้าของงานตนเองทุกคนคะ เพื่อให้งานออกมาดี





วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

วันที่ 29 มีนาคม 2561


 วันที่ 29 มีนาคม 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 10


         

          




     วันนี้อาจารย์ได้นัดในนักศึกษามาทำบุญที่มหาวิทยาลัยในตอนเช้า ทำให้จิตใจสงบและมีสามธิในการเรียนมากขึ้น สำหรับการเรียนวันนี้มีการนำเสนอวิจัยและการกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษา อาจารย์ได้ให้คำชี้แนะมากมาย เมื่อนำเสนอเสร็๋จแล้วอาจารย์มีแผงไข่ให้นักศึกษาคู่ละ 1แผง ให้นักศึกษาคิดสื่อการสอนคณิตศาสตร์จากแผงไข่เพื่อเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

ความรู้ที่ได้รับ : ได้รับความรู้จากวิจัยที่เพื่อนนำมาเสนอ คือ คณิตศาสตร์จากอาหาร ส้มตำ

ประเมินตนเอง : วันนี้ดิฉันตั้งใจเรียนและได้มาทำบุญในตอนเช้าคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจดีคะ ได้ลงมือทำจริงๆทำให้การเรียนในห้องสี่เหลี่ยมสนุกไม่น่าเบื่อเลยคะ


วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561

วันที่ 24 มีนาคม 2561


วันที่ 24 มีนาคม 2561
การเรียนการสอนครั้งที่ 9








    สำหรับการเรียนวันนี้เรียนเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์นั้นสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบซึ่งวันนี้อาจารย์ได้สอนการจัดประสบการณ์ตามสาระการเรียนรู้ทั้งหมด 6 สาระ โดยการให้นักศึกษาได้ลงมือทำโดยมีอาจารย์คอยสอนอยู่
    การจัดประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นการตัด การพบ หรือ การใช้ชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย สามรถนำมาเป็นการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ทั้งนั้น
    และการเรียนวันนี้มีการนำเสนอของนักศึกษาตามเลขที่เช่นเคยหนึ่งในนั้นมีดิฉันด้วยวันนี้ดิฉันเตรียมของมานำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ในเรื่องการนับ โดยการใช้ตัวหนีบกับจานตัวเลข           ดิฉันได้รับคำแนะนำจากอาจารย์และจะนำไปปรับแก้คะ เช่น การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ควรจัดให้มีหน่วยที่อยู่ใกล้ตัวเด้กเช่น หน่วยไข่ สามารถนำมาจัดประสบการณ์ได้

ความรู้ที่ได้รับ : ได้รู้วิธีการจัดประสบการณ์ทางคณิตาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในเรื่อง การตัด การพับ

ประเมินตนเอง : วันนี้ดิฉันตั้งใจเรียนและเตรียมการนำเสนออย่างเต็มที่คะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีคะ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียนดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนโดยการให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริงด้วยตนเองแต่มีอาจารย์คอยให้คำแนะนำ จึงทำให้เข้าใจง่ายและจำได้ง่ายโดยไม่ต้องท่องจำคะ สนุกกับการเรียนกับอาจารย์คะ

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561

วันที่ 16 มีนาคม 2561


วันที่ 16 มีนาคม 2561
การเรียนการสอนครั้งที่ 8




         การเรียนวันนี้เรียน เรื่อง สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และ คิดกิจกรรมพร้อมวิธีการทำกิจกรรมที่ตนเองคิด 

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
    สาระสำคัญทางคณิตสตร์เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก  ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ  ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย  และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน  จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย  ไว้ดังนี้

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
     จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ  จำนวนนับ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ  ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวนสัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า  เลขโดด  ในระบบฐานสิบมี  10  ตัวดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก  ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย  ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า  หก  เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ตามลำดับ
จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน  จะมีค่าเท่ากัน  มากกว่ากัน  หรือ  น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวการเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก  หรือจากมากไปหาน้อย
การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ  จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน  แล้วจึงจัดอันดับหนึ่ง  ที่สอง  ที่สาม  ที่สี่  ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม  ได้ผลรวมมากขึ้นการแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่  แล้วบอกจำนวนที่เหลือ

สาระที่2 การวัด
    การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน  การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง การวัดความยาว  ความสูง  ของสิ่งต่างๆ  อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐานยาวกว่า  สั้นกว่า  สูงกว่า  เตี้ยกว่า /ต่ำกว่า  ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว /ความสูงของสิ่งต่างๆ การรียงลำดับความยาว/ ความสูง  
  อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อยการชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆ  อาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐานหนักกว่า  เบากว่า  หนักเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆการเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ  อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยการตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐานปริมาตรมากกว่า  ปริมาตรน้อยกว่า  ปริมาตรเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆการเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ  อาจเรียงจากน้อยไปหามาก  หรือจากมากไปหาน้อยเงินเหรียญและธนบัตร  เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขายตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ  บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร  บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ  บาท  เป็นหน่วยของเงินไทยเวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ  กลางวันและกลางคืนเช้า  เที่ยง  เย็น  เมื่อวาน  วันนี้  พรุ่งนี้  เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี  วันศุกร์  และวันเสาร์

สาระที่3 เรขาคณิต
    ข้างบน  ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก  ข้างหลัง  ระหว่าง  ข้างซ้าย  ข้างขวา  ใกล้  ไกล  เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทางของสิ่งต่างๆ การจำแนกทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  กรวย  ทรงกระบอก  และรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม  ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป
    
สาระที่4 พีชคณิต
    แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด  ของจำนวนรูปเรขาคณิต  หรือสิ่งต่างๆ

สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้ แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย  โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้

สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ  จํานวน  การวัด  เรขาคณิตศาสตร์ พืชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นโดย การสอดแทรกทักษะกระบวนการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย

     ในการนำเสนอ วิจัย บทความ การสอน ในอาทิตย์นี้ซึงเป็นอาทิตย์ของดิฉันที่ได้นำเสนอ ดิฉันเตรียมตัวไปค่อนข้างพร้อมแต่ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากเวลามีจำกัดจึงต้องเรียนก่อนซึ่งทำให้ดิฉันได้กลับมาปรับแก้ในส่วนที่ต้องเพิ่มเติมหลังจากที่ฟังอาจารยืให้คำแนะนำเพื่อนที่ออกไปนำเสนอการสอน

ความรู้ที่ได้รับ : ได้รับความรู้เรื่องมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในแต่ละกลุ่มสาระและได้ฝึกเขียนกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยคะ

ประเมินตนเอง : สำหรับวันนี้ดิฉันตั้งใจเรียนคะ มีหันไปปรึกษาเพื่อนบ้าง และถามข้อสงสัยอาจารย์บ้างเวลาไม่เข้าใจคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีคะ 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกคะ จึงทำให้ไม่เครียดเวลาเรียน