วันที่ 16 มีนาคม 2561
การเรียนการสอนครั้งที่ 8
การเรียนวันนี้เรียน เรื่อง สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และ คิดกิจกรรมพร้อมวิธีการทำกิจกรรมที่ตนเองคิด
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระสำคัญทางคณิตสตร์เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก
ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ จำนวนนับ หนึ่ง
สอง สาม สี่
ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวนสัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน
หรือ
น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวการเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับหนึ่ง ที่สอง
ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ
สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้นการแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ
ออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
สาระที่2 การวัด
การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง การวัดความยาว ความสูง
ของสิ่งต่างๆ
อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐานยาวกว่า สั้นกว่า
สูงกว่า เตี้ยกว่า /ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว
/ความสูงของสิ่งต่างๆ การรียงลำดับความยาว/ ความสูง
อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อยการชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐานหนักกว่า เบากว่า
หนักเท่ากัน
เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆการเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยการตวงของสิ่งต่างๆ
อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐานปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน
เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆการเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อยเงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขายตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ บาท
เป็นหน่วยของเงินไทยเวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ กลางวันและกลางคืนเช้า เที่ยง
เย็น เมื่อวาน วันนี้
พรุ่งนี้
เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้
วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร
วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์
และวันเสาร์
สาระที่3 เรขาคณิต
ข้างบน ข้างล่าง
ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง
ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา
ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง
ระยะทางของสิ่งต่างๆ การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย
ทรงกระบอก และรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป
สาระที่4 พีชคณิต
แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย
โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ จํานวน
การวัด เรขาคณิตศาสตร์ พืชคณิต
และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นโดย การสอดแทรกทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย
ในการนำเสนอ วิจัย บทความ การสอน ในอาทิตย์นี้ซึงเป็นอาทิตย์ของดิฉันที่ได้นำเสนอ ดิฉันเตรียมตัวไปค่อนข้างพร้อมแต่ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากเวลามีจำกัดจึงต้องเรียนก่อนซึ่งทำให้ดิฉันได้กลับมาปรับแก้ในส่วนที่ต้องเพิ่มเติมหลังจากที่ฟังอาจารยืให้คำแนะนำเพื่อนที่ออกไปนำเสนอการสอน
ความรู้ที่ได้รับ : ได้รับความรู้เรื่องมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในแต่ละกลุ่มสาระและได้ฝึกเขียนกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยคะ
ประเมินตนเอง : สำหรับวันนี้ดิฉันตั้งใจเรียนคะ มีหันไปปรึกษาเพื่อนบ้าง และถามข้อสงสัยอาจารย์บ้างเวลาไม่เข้าใจคะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีคะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกคะ จึงทำให้ไม่เครียดเวลาเรียน