วันที่ 2 พฤษภาคม 2561
การเรียนการสอนครั้งที่ 14
สำหรับวันนี้เป็นการเรียนชดเชย วันนี้เป็นการนำเสนอเกมการศึกษาจากถาดไข่ของเพื่อนๆแต่ละคู่โดยการเปิดคลิปวีดีโอนำเสนอหน้าห้องเรียนเพื่อให้อาจารย์และเพื่อนๆ รับรู้วิธีการประเมินเด็กและการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองสามารถส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้ที่บ้าน
วิธีการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ โดยวิธีการที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่1. เก็บรวบรวมข้อมูล ครูควรวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลควบคู่กับการจัดประสบการณ์ โดยเป็นการวางแผนล่วงหน้า ทั้งนี้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1.1 การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็ก ครูควรใช้เวลาในการสังเกตและเฝ้าดูเด็ก เพื่อให้ทราบว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่น ความต้องการ ความสนใจ และต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใด ทั้งนี้ ครูต้องกำหนดเวลา แนวทางที่ชัดเจน และจดบันทึกไว้เพื่อนำมาใช้ในวิเคราะห์และสรุป ทั้งนี้ การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็กอาจทำได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.3 การเก็บตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็ก เป็นวิธีการที่ครูรวบรวมและจัดระบบตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็กจากชิ้นงานที่เด็กสร้างขึ้นในกิจวัตรประจำวัน ครูควรกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเก็บรวบรวมผลงาน เช่น เก็บตัวอย่างผลงานการตัดกระดาษที่แสดงการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านการตัดกระดาษของเด็กเดือนละ 1 ชิ้นงาน แล้วนำมาจัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น การเก็บสะสมผลงานอย่างต่อเนื่องนี้ ครูต้องประเมินว่าผลงานแต่ละชิ้นแสดงความก้าวหน้าของเด็กอย่างไร ไม่ใช่การนำมาเก็บรวมกันไว้เฉยๆ ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการเลือกและจัดเก็บผลงาน และครูสามารถนำผลงานที่จัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบมาใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครองให้รับทราบเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเด็กด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่ดีต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช่วิธีใดวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ หรือครูผู้ช่วยมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลด้วย เพราะวิธีการแต่ละวิธีจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยวิธีการที่นำเสนอข้างต้นเป็นวิธีที่ครูต้องฝึกฝนจนมีทักษะในการสังเกตเด็ก พูดคุยกับเด็กและพ่อแม่อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีความไวต่อสิ่งที่ควรบันทึกหรือเก็บตัวอย่าง หากครูมีทักษะเหล่านี้ก็จะทำให้การประเมินตรงตามสภาพจริงยิ่งขึ้น
2.1 บันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล การทำบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคลจะช่วยให้ครูรู้จักความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ทำให้ครูติดตามความก้าวหน้าของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยให้ครูประเมินเด็กอย่างครอบคลุมทุกรายการประเมิน ครูที่ทำบันทึกข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลจะสามารถช่วยส่งเสริมความสามารถของเด็ก หรือให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม
2.2 บันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน การทำบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียนช่วยให้ครูรู้ว่าเด็กในห้องเรียนที่รับผิดชอบมีความสามารถหรือมีพัฒนาการในแต่ละด้านเป็นอย่างไร ส่งผลให้ครูสามารถออกแบบการจัดประสบการณ์ได้เหมาะสมกับเด็กในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความก้าวหน้าของเด็กทั้งชั้นเรียน การสรุปเช่นนี้ควรทำเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
1.2 การสนทนากับเด็ก ครูสามารถใช้การสนทนากับเด็กได้ทั้งแบบรายบุคคลและเป็นกลุ่มอย่างสอดคล้องกับกิจวัตรประจำวัน เพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็น พัฒนาการด้านการใช้ภาษา ฯลฯ เช่น เมื่อครูเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ว ครูอาจถามคำถามให้เด็กแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟัง เพื่อให้รู้ความคิดของเด็ก ทั้งนี้ ครูควรจดบันทึกคำพูดของเด็กไว้เพื่อการวิเคราะห์และปรับการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมต่อไป ในกรณีที่ต้องการสนทนากับเด็กเป็นรายบุคคล ครูควรพูดคุยในสภาวะที่เหมาะสม ไม่ทำให้เด็กเครียดหรือเกิดความวิตกกังวล
2. วิเคราะห์และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ครูควรนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาวิเคราะห์ และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ทั้งในลักษณะของบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล และบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน
ทั้งนี้ การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ดีต้องผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับการจัดประสบการณ์ การประเมินช่วยให้ครูทราบพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะสามารถส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเต็มที่ ครูปฐมวัยจึงควรศึกษาวิธีการ เครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินที่เหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย วางแผนการประเมินให้เหมาะสม ใช้ผลการประเมินในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก การประเมินจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ช่วยทำให้ครูสามารถจัดประสบการณ์อย่างมีคุณภาพ
สุดท้ายเป็นการนำเสนอบทความการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์และวิจัยการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย ดังนี้- บทความ เรื่อง เทคนิคสอนลูกเก่งเลข ง่ายนิดเดียว- บทความ เรื่อง เม่ื่อลูกน้อยเรียนรู้ คณิต-วิทย์ จากเสียงดนตรี- การวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษาเศษส่วน- การวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์- การวิจัย เรื่อง การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์